โควิด-19 กับความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม

 

 


               จากสถานการณ์โควิด–19 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนมากมาย นอกจากนี้ยังพบว่า “สิ่งแวดล้อม” ก็ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบเช่นเดียวกัน ตัวอย่างผลกระทบเชิงบวก เช่น มาตรการการปิดเมืองส่งผลให้เกิดการลดกิจกรรมการเดินทาง การขนส่ง การท่องเที่ยว ฯลฯ มีผลทำให้คุณภาพทางอากาศและคุณภาพน้ำดีขึ้น โดยพบว่าภายหลังการท่องเที่ยวที่ซบเซาลง กลับพบเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่บนชายหาดแถว จ.พังงาและภูเก็ต มากขึ้น

              แต่ในทางกลับกัน การรณรงค์สวมหน้ากากอนามัยได้ผลเป็นอย่างดี ผู้คนสวมหน้ากากเป็นนิสัยและใช้กันทุกวันเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเฉพาะประเทศไทยก็คาดว่าจะมีหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกทิ้งเป็นขยะราว 1.5 ถึง 2 ล้านชิ้นต่อวัน 
 

 

 

                 นอกจากนี้ ขยะพลาสติกจากบริการส่งอาหารในรูปแบบฟู้ดเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีการประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ต้องมีการขอความร่วมมือให้ประชาชนจำกัดการเดินทาง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” พบว่า การสั่งซื้ออาหารออนไลน์สร้างขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นถึง 15% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 6,300 ตันต่อวัน จากปกติประเทศไทยมีขยะพลาสติก 2 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 5,500 ตันต่อวัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นถึง 1,500 ตันต่อวัน
                 ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านประเทศและโลกสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายและยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมากในอนาคต 

แหล่งข้อมูล : สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.)
                 : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar