เปลี่ยนเมล็ดอะโวคาโด เป็นไบโอพลาสติก กับ Biofase

“จะดีไหม ถ้าช้อน ส้อม มีด หลอดดูดใช้แล้วทิ้ง สามารถย่อยสลายได้ภายใน 240 วัน” เพราะ ในปัจจุบัน ข่าววาฬที่เกยตื้นเพราะกินพลาสติกเข้าไปเต็มท้อง หรือคลิปเต่าทะเลที่หายใจไม่ออก เพราะหลอดพลาสติกเข้าไปติดอยู่ในจมูกเริ่มจะปรากฏขึ้นมาให้เห็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ คนจำนวนมาก จึงเริ่มเห็นความสำคัญของการลดการใช้พลาสติกลงหากไม่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นการพกถุงผ้าและลดการใช้ ถุงพลาสติกขณะชอปปิง หรือการพกพาชุดช้อนส้อม หลอดดูดที่สามารถล้างและใช้ซ้ำใหม่ได้ เป็นต้น

          แต่สำหรับร้านอาหารที่ยังต้องจำหน่ายอาหารใส่กล่องนำกลับไปกินบ้าน หรือร้านเครื่องดื่ม การมีช้อนส้อมหรือหลอดพลาสติกให้ก็ยังเป็นความสะดวกสำหรับผู้บริโภคอยู่ แล้วเราจะ ทำ อย่างไร กันดีล่ะ

          ไบโอพลาสติก หรือพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ คือคำตอบที่เริ่มแพร่หลายขึ้นมา แต่ก็ ยังมีข้อจำกัดคือต้นทุนที่แพง เพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ผู้ผลิตไบโอพลาสติกนิยมใช้กันคือข้าวโพด ซึ่งเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมอาหาร

          เพราะต้องการหาทางเลือกที่ยั่งยืนและราคาไม่แพง นักวิศวกรชีวเคมีชาวเม็กซิกัน Scott Munguia ศึกษาวิจัยค้นคว้าหาวิธีผลิตไบโอพลาสติกจากขยะทางการเกษตรอย่างเมล็ดอะโวคาโด เพราะในประเทศเม็กซิโกอะโวคาโดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ผลิตกันวันละประมาณ 136,000 กิโลกรัม ส่วนเมล็ดที่คว้านทิ้งก็จะถูกนำไปกำจัดด้วยการเผาซึ่งสร้างมลภาวะทางอากาศต่อไปอีก

          เมื่อทดลองค้นคว้าอยู่ปีครึ่ง Scottก็ค้นพบวิธีสกัดโมเลกุลอะโวคาโดเพื่อมาทำไบโอพลาสติก และสามารถนำมาหลอมเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ จึงเกิดเป็นบริษัท Biofase ที่ผลิตช้อน ส้อม มีด และ หลอดดูด ที่ย่อยสลายได้ ที่วางจำหน่ายได้ในราคาเท่ากับพลาสติกทั่วไป และย่อยสลายเองได้ในเวลาแค่ 240 วันเท่านั้น ในขณะที่พลาสติกทั่วไปใช้เวลาหลายร้อยปีขึ้นอยู่กับชนิดของมัน

          ทุกวันนี้ Biofase ยังช่วยลดปริมาณขยะที่เมล็ดอะโวคาโดถูกนำไปเข้า กระบวนการ ไบโอพลาสติกวันละกว่า 15 ตัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของพวกเขาก็เป็นที่แพร่หลายสำหรับร้านอาหาร, โรงแรม, โรงเรียนในเม็กซิโก และยังส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และกลุ่มละติน อเมริกาอีก 11 ประเทศด้วยกัน

          หากใครอ่านแล้วสนใจลองทำวิจัยในรูปแบบคล้ายๆ กันในบ้านเราก็คงจะดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะได้ลดการใช้พลาสติก ยังเป็นการช่วยลดขยะทางการเกษตรไปในตัวอีกด้วย

ข้อมูล  https://datacenter.deqp.go.th/knowledge/environmentdoc/0en/

 


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar